เครื่องใช้ไม้สอยของพวกโซ่ง
คลังบทความ

เครื่องใช้ไม้สอยของพวกโซ่ง

 

ในบริเวณตำบลดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง และตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านโซ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น นอกจากขนบธรรมเนียมประเพณีแล้ว อัตลักษณ์ของชาวโซ่งยังปรากฎผ่านอาคารบ้านเรือน เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ

 

"โฮ่" ใช้สำหรับใส่ของเล็กๆ น้อยๆ ทำเป็นลายตาเหลวแบบโปร่ง 

 

ฤทัย ใจจงรัก ได้เก็บข้อมูลข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่พบในหมู่บ้านโซ่งที่ตำบลดอนมะนาว อำเภอสองพี่น้อง และตำบลสระยายโสม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่าเครื่องจักสานของชาวโซ่งมีความน่าสนใจ ด้วยเพราะมีระเบียบแบบแผนในการทำอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและความคงทนแข็งแรง วิธีการเลือกวัสดุ ได้แก่ หวาย และไม้ไผ่สีสุกที่นำมาจักเป็นตอก ไปจนถึงการออกแบบลวดลายบนพื้นผิวที่มีความสวยงามหลากหลาย

 

"ขะหมุก" สำหรับใส่ผ้าที่ทอแล้ว ด้านบนมีไม้ไผ่ไขว้สำหรับเป็นที่จับเวลาต้องการเปิดฝา

 

ตัวอย่างเครื่องจักสานที่น่าสนใจของพวกโซ่ง เช่น "เปลเด็ก" สานด้วยไม้ไผ่ "แล" หรือรังเลี้ยงไหม ทำด้วยไม้ไผ่สานต่อขึ้นเป็นชั้นๆ สำหรับเลี้ยงตัวไหมเพื่อเอาเส้นใยมาทอผ้า "โตบ" ที่เก็บตัวไหม "โฮ่" ใช้สำหรับใส่ของเล็กๆ น้อยๆ เช่น อุปกรณ์การเย็บผ้า "ขะหมุก" ใช้สำหรับเก็บผ้าที่ทอแล้ว ด้านบนมีฝาปิดมิดชิด 

 

"โตบ" ที่เก็บตัวไหม


ทำความรู้จักวิธีการทำเครื่องจักสานของชาวโซ่งได้ใน “เครื่องใช้ไม้สอยของพวกโซ่ง” บทความโดย ฤทัย ใจจงรัก ตีพิมพ์ในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 (เมษายน-มิถุนายน พ.ศ. 2519) หน้า 78-85 อ่านบทความฉบับเต็ม คลิก https://www.yumpu.com/xx/document/view/67624123/-2-3

 


กองบรรณาธิการ

"วารสารเมืองโบราณ" นิยามไทย เข้าใจถิ่น