ลายกำมะลอ
คลังบทความ

ลายกำมะลอ

 

สำหรับคนทั่วไป เมื่อเอ่ยถึงคำว่า กำมะลอ คงเข้าใจว่าหมายถึงของทำเทียม ของเลียนแบบ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น กำมะลอ ยังมีอีกหลายความหมาย ดังเช่น ในสมัยหนึ่ง เราใช้เป็นคำเปรียบเทียบผู้ชายจับจด ไม่ทำงานเป็นชิ้นเป็นอัน อาศัยพึ่งพาแต่พ่อแม่ว่าเป็น ผู้ชายกำมะลอ

 

หีบใส่ผ้าโบราณของทางภาคเหนือ

 

นอกจากนั้น คำว่า กำมะลอ ยังเป็นคำเรียกลวดลายอันเกิดจากการลงรักปิดทองหลายสีว่า ลายกำมะลอ เราใช้เรียกตะลุ่มที่ประดับด้วยกระจกสีสลับไปมาว่า ประดับกระจกแบบกำมะลอ และใช้เรียกภาพจิตรกรรมฝาผนังลายขบวนจีนเรื่อง สามก๊ก ที่เขียนบนพื้นสีแดงตัดเส้นด้วยสีทองที่วัดนางนองว่า ภาพเขียนสีแบบลายกำมะลอ เป็นต้น

 

ลวดลายบนหีบใส่ผ้าโบราณของทางภาคเหนือ เขียนด้วยกรรมวิธีเดียวกับการเขียนลายกำมะลอของทางภาคกลาง

 

ทำความรู้จัก ลายกำมะลอ และรับชมภาพเพิ่มเติมในบทความฉบับเต็มเรื่อง กำมะลอ โดย เสนอ นิลเดช  ใน วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 (เมษายน – มิถุนายน 2520) หน้า 5-12  อ่านที่ “10 ปีแรก วารสารเมืองโบราณ” คลิก https://www.yumpu.com/nl/document/view/67648020/-3-3

 


กองบรรณาธิการ

"วารสารเมืองโบราณ" นิยามไทย เข้าใจถิ่น