บ้านดิน
คลังบทความ

บ้านดิน

 

การสร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้ “ดิน” เป็นวัตถุดิบหลัก ดูเหมือนจะเป็นสถาปัตยกรรมสมัยแรกเริ่มที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น ทั้งนี้พบหลักฐานการสร้างบ้านด้วยดินโดยชาวบาบิโลเนียนตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์เมื่อหลายพันปีก่อน ด้วยการนำดินดิบอัดเป็นก้อนแล้วนำไปตากแดดก่อนนำมาใช้ ต่อมาจึงพบหลักฐานว่ามีการสร้างอาคารบ้านเรือน ป้อม กำแพง หรือสถาปัตยกรรมอื่นด้วยดิน บ้างใช้เป็นวัสดุหลัก และบ้างใช้ผสมกับวัสดุอื่น เช่น  กระท่อมดินที่คาโน ไนจีเรียเหนือ ป้อมดินมิเนอเร็ทในแอฟริกา บ้านดินของชาวนาที่สารนาถ พาราณสี ประเทศอินเดีย กำแพงบ้านที่เมืองจีน เป็นต้น

 

อย่างไรก็ดี แม้ว่าบทความเรื่อง “บ้านดิน” ของ พงษ์เทพ จันทรสืบ จะพูดถึงเรื่องของ “บ้านดิน” ไว้ เมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว แต่ “บ้านดิน” ก็ไม่เคยล้าสมัยด้วยยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ในอีกหลายพื้นที่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีสภาพร้อนแล้ง เช่น จีน อินเดีย แอฟริกา แต่ในเมืองไทยเองก็พบการสร้างบ้านด้วยดินด้วยเช่นกัน เช่น บ้านดินของชาวไทยใหญ่ในจังหวัดเชียงราย บ้านดินที่เกษตรวิชัย จังหวัดร้อยเอ็ด อาคารทำจากดินกลางเมืองอุบลราชธานี และร้านค้าจากดินที่มหาสารคามและยโสธร เป็นต้น

 

ทำความรู้จักและก้าวเข้าสู่โลกของ “บ้านดิน” พร้อมกันได้จากบทความเรื่อง “บ้านดิน” โดย พงษ์เทพ จันทรสืบ ตีพิมพ์ในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม - กันยายน พ.ศ. 2520 หน้า 15-20 ใน “10 ปี แรกวารสารเมืองโบราณ” คลิก  https://www.yumpu.com/xx/document/view/67648066/-3-4

 

ภาพปก : ตึกแถวดินในภาคอีสาน ภาพถ่ายเมื่อราวปี พ.ศ. 2519 (ที่มา : ศูนย์ข้อมูลเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์)  


กองบรรณาธิการ

"วารสารเมืองโบราณ" นิยามไทย เข้าใจถิ่น