การคล้องช้างในเมืองไทยเท่าที่มีมาแต่โบราณ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1) การวังช้างและจับพะเนียด วิธีนี้ต้องกำหนดสถานที่ใกล้ป่าอันเป็นที่อยู่อาศัยของช้างป่า แล้วสร้างคอกมีรั้วล้อมทำด้วยเสาไม้ปัก ช้างป่าจะถูกช้างที่ฝึกไว้แล้วไล่เข้าไปในคอกหรือพะเนียด ถ้าเก็บช้างที่ไล่ไว้ทั้งหมด เรียก ‘การวังช้าง’ แต่ถ้าเลือกไว้เพียงแค่ 2-3 ตัว นอกนั้นปล่อยไป ก็เรียกว่า ‘การจับพะเนียด’
2) การโพนช้าง พรานช้างจะขี่ช้างต่อเข้าไปในป่าและจับช้างโดยการใช้บ่วงบาศก์คล้อง เป็นวิธีที่ชาวกูยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือปฏิบัติกันมาช้านาน
“ในทัศนะของพวกกูย การโพนช้างไม่ใช่ของง่าย และเป็นสิ่งสนุกอย่างที่เห็นในงานแสดง หากเป็นเรื่องที่ต้องเสี่ยงอันตราย แม้กระทั่งชีวิต ดังนั้นพิธีคล้องช้างจึงต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับสิ่งเหนือธรรมชาติ มีขอบเขตและระเบียบแบบแผนที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จนอาจกล่าวได้ว่าระบบความเชื่ออันเนื่องมาจากพิธีการคล้องช้างนั้น เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวกูยหรือส่วยก็ได้”
งานแสดงช้างที่สุรินทร์ ไม่ทราบปีที่ถ่าย (ที่มา : ศูนย์ข้อมูลเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์)
การโพนช้างในงานแสดงช้างที่สุรินทร์ ไม่ทราบปีที่ถ่าย (ที่มา : ศูนย์ข้อมูลเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์)
บทความเรื่อง “โพนช้าง” (Elephant Hunting) โดย รจน์ โสตศิริ ตีพิมพ์ใน วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (มกราคม-มีนาคม 2518) นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมกับบทคัดย่อภาษาไทย โดยเนื้อหาของบทความหลักกล่าวถึงการโพนช้างของกลุ่มชาวกูยในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเกี่ยวพันกับความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติอย่างใกล้ชิด ได้แก่ การนับถือผีปะกำ โดยมีครูบาใหญ่เป็นผู้นำ และข้อห้าม (Taboo) ต่างๆ ที่ต้องยึดถือในระหว่างการออกโพนช้างในแต่ละครั้ง
การโพนช้างในงานแสดงช้างที่สุรินทร์ ไม่ทราบปีที่ถ่าย (ที่มา : ศูนย์ข้อมูลเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์)
ครูบาใหญ่ ที่หมู่บ้านช้าง บ้านกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ภาพถ่ายเมื่อราวปี 2518 (ที่มา : ศูนย์ข้อมูลเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์)
อ่านบทความเรื่อง “โพนช้าง” ฉบับเต็ม ได้ใน “10 ปีแรก วารสารเมืองโบราณ” คลิก https://www.yumpu.com/xx/document/view/67593089/-1-2
ศาลปะกำที่หมู่บ้านช้าง บ้านกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ภาพถ่ายเมื่อราวปี 2518 (ที่มา : ศูนย์ข้อมูลเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์)