(ภาพปก) งานโนราโรงครูวัดท่าแคเป็นงานใหญ่ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปและผู้ที่มีเชื้อสายโนราเข้าร่วมงานจำนวนมาก (ภาพ : อุไรวรรณ พรหมรัตน์)
“...ควันธูปคละคลุ้ง น้ำตาเทียนถมท่วม ชุดโนราและเครื่องเซ่นบูชามากมายบรรจงจัดวางอย่างสวยงาม ดอกไม้พวงมาลัยตรงหน้าก็หอมสดใหม่เสมอ พลันหันกลับมาที่หญิงแปลกหน้าผู้มาใหม่ ทันทีที่ก้มกราบลงหน้ารูปปั้นขุนศรีศรัทธา ร่างของหญิงแปลกหน้าก็เริ่มสั่นเทิ้ม นัยน์ตาเล็กหลุบต่ำ ปากเผยอขึ้นลงคล้ายกำลังพึมพำสวดท่องมนต์คาถาที่ฟังไม่ได้ศัพท์ พร้อมๆ กับวาดสองแขนร่ายรำอย่างคล่องแคล่ว ลำตัวโยกส่ายไปมาตามท่วงทำนองที่ไม่มีใครได้ยิน...”
ว่ากันว่า ผู้ที่มีเชื้อสายโนรา เมื่อมากราบไหว้ขุนศรีศรัทธาซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในวัดท่าแคแห่งนี้ ส่วนใหญ่จะถูกครูหมอของตนจับ หรือประทับทรง แล้วแสดงออกด้วยอากัปกิริยาต่างกันออกไป
ขุนศรีศรัทธา คือใคร ?
หาคำตอบต่อคำถามที่ไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่าได้จากบทความเรื่อง " 'ขุนศรีศรัทธา' ตำนานครูต้นโนราแห่งบ้านท่าแค" โดย เกสรบัว อุบลสรรค์ ตีพิมพ์ในวารสารเมืองโบราณ 44.3 (กรกฎาคม-กันยายน 2561) “ไชยบุรี : ปราการที่แข็งแกร่งของพัทลุง”
ดูสารบัญ คลิก http://www.muangboranjournal.com/bookpost/41
รายละเอียดการสั่งซื้อ-สมัครสมาชิก คลิก http://www.muangboranjournal.com/สมัครสมาชิก