กุหล่าเมืองจันท์

กุหล่าเมืองจันท์

 

จิตร ภูมิศักดิ์ ให้คำอธิบายว่า "...'กุลา' หรือ 'กุหล่า' เป็นคำเรียกโดยคนที่อยู่เหนือประเทศไทยขึ้นไป ซึ่งใช้เรียกผู้คนซึ่งอยู่ถัดไปทางตะวันตก เช่น คนพม่าเรียกคนอินเดียว่า 'กุลา'..."

 

คนจันทบุรี ออกเสียงว่า "กุหล่า"

 

กุหล่า เดินทางเข้ามาเมืองจันท์ตั้งแต่เมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว เล่าลือต่อกันมาว่า ชาวกุหล่าเป็นกลุ่มคนที่มีความสามารถในการขุดหาพลอย ในหนังสือ "วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดจันทบุรี" กล่าวว่า "ชาวกุหล่าเป็นชนกลุ่มน้อยในพม่า ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในจันทบุรีสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวกุหล่าเรียกตนเองว่า 'ไต' แต่คนไทยเรียกคนกลุ่มนี้ว่า 'ไทใหญ่' ผู้สูงอายุของชาวกุหล่าเล่าให้ฟังว่า พวกเขาอพยพมาตามหาพลอย โดยเริ่มเข้ามาทำพลอยที่ตำบลบางกะจะ ต่อมาได้อพยพไปทำพลอยที่บ่อไร่ ข้ามไปถึงบ่อไพลิน บ่อเวฬุ และได้กลับมาตั้งถิ่นฐานในจันทบุรีช่วงหลัง พ.ศ. 2498"

 

ต่อมา ภายหลังยุคสงครามมหาเอเชียบูรพา ชาวกุหล่าได้พัฒนาจากแรงงานในเหมืองมาเป็นกลุ่มทุน ด้วยสั่งสมความรู้เกี่ยวกับพลอยมานาน จึงกลายเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญในแวดวงธุรกิจค้าพลอยของไทยตั้งแต่ราวปีพุทธศักราช 2500 ลงมา

 

ออกเดินทางตามรอย 'กุหล่า' ไปพร้อมกันได้จากบทความเรื่อง "กุหล่าเมืองจันท์" เครือข่ายพ่อค้าหลังยุคสงครามมหาเอเชียบูรพา โดย ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง ตีพิมพ์ในวารสารเมืองโบราณ 44.1 ศรีมโหสถ นครรัฐฟากตะวันออกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา 

 

 

(ภาพประกอบ : การขุดพลอยโดยทีมสำรวจยุคบุกเบิกเพื่อป้อนพลอยดิบสู่โรงงานรับเจียระไน เอื้อเฟื้อภาพโดย คุณใจหาญ ก้างกอน)


กองบรรณาธิการ

"วารสารเมืองโบราณ" นิยามไทย เข้าใจถิ่น