เกวียน
คลังบทความ

เกวียน

 

ในสมัยที่การคมนาคมทางบกยังไม่สะดวกง่ายดาย “เกวียน” นับเป็นพาหนะสำคัญในการขนถ่ายสินค้าและนำพาผู้คนไปสู่ที่ต่างๆ โดยเฉพาะบนเส้นทางที่ต้องผ่านเทือกเขาท้องที่ทุรกันดาร เช่น แถบเมืองเชียงใหม่ไปยังแม่ฮ่องสอน แถบแม่สอดไปเมืองตาก และพื้นที่ระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น

 

เกวียนวัวที่หล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาพถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2519

(ที่มา : ศูนย์ข้อมูลเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์) 

 

เกวียนควายทางภาคอีสาน ภาพถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2518 

(ที่มา : ศูนย์ข้อมูลเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์) 

 

เกวียนมี 2 ชนิด คือ เกวียนวัว กับ เกวียนควาย เกวียนวัวจะต่างจากเกวียนควายตรงที่มีรูปร่างเตี้ยและสั้นกว่า แต่จะมีความกว้างกว่าเกวียนควาย โดยเกวียนของแต่ละพื้นที่ยังมีลักษณะเฉพาะที่เป็นอัตลักษณ์แตกต่างกันไปอีกด้วย

 

เกวียนจอดไว้ในบริเวณบ้าน จังหวัดจันทบุรี ภาพถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2518

(ที่มา : ศูนย์ข้อมูลเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์) 

 

ติดตามเรื่องราวของ “เกวียน” ได้ในคอลัมน์ “พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน ตอน เกวียน” บทความตีพิมพ์ใน วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (มกราคม-มีนาคม 2521) หน้า 122-126 คลิก https://www.yumpu.com/xx/document/view/67660172/-4-2

 


กองบรรณาธิการ

"วารสารเมืองโบราณ" นิยามไทย เข้าใจถิ่น